องค์ประกอบ บั้งไฟลายศรีภูมิ ของ บุญบั้งไฟ

ส่วนการตกแต่งและองค์ประกอบของบั้งไฟลายศรีภูมิ ที่นิยมและจัดเป็นงานเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในประเทศไทย ที่อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างเพิ่มเติม ออกไป โดยคุณลักษณะพิเศษของลายกรรไกรตัด นั้น พบว่า การตัดกระดาษนั้น เส้นลวดลาย ทุกเส้น จะไม่มีการขาดออกจากกัน สามารถลากเส้นบรรจกันได้ทั้งหมด และการจัดกระดาษนั้น จะไม่มีการร่างลวดลายเอาไว้ก่อน ทั้งนี้ '"บั้งไฟลายศรีภูมิ"' มีองค์ประกอบหลัก 8 ประการ ได้แก่

  1. ลายลูก ใช้ลายกรรไกร กระดาษจังโกสีแดง พื้นใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง
  2. ลายปลอก ใช้ลายประจำยามประดิษฐ์ พื้นใช้กระดาษขัดมันสีเหลือง มีการประดิษฐ์ลวดลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) สลับสีดำ แดง เหลือง เป็นเส้นขนาดเล็ก ประดับกับลายประจำยาม
  3. ประดิษฐ์ลายแส้" หรือ แส้พระอินทร์ เป็นเส้นเล็ก ๆ พับด้วยกระดาษขัดมันสีดำ สลับเหลืองสอดอยู่ระหว่างลูกบั้งไฟ
  4. อกนาค ใช้ไม้แกะสลักมีขนาดใหญ่เต็มหัวบั้งไฟ ลงสีสันเป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ
  5. หัวนาค ใช้ไม้แกะสลัก เป็น พญานาค ประกอบลายกนก สีเหลือง ส้ม แดง และ ดำ ปากนาค ขยับขึ้นลง พร้อมประดิษฐ์ให้สามารถพ่นน้ำได้
  6. แผงนาค ใช้ไม้ลงสีสัน เป็นเกล็ดนาค ด้วยสีเหลือง ส้ม แดง และดำ
  7. หางนาค เป็นลายกนก ลงสีสันสลับกันกับแผงนาค และหัวนาค อย่างลงตัว
  8. ประดิษฐ์ลายยาบ หรือ ยาบบั้งไฟ ด้วยการหนีบกระดาษเป็นลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายกนก ลานประจำยาม ลายพู่ ลายเฟื่อง ลายแข่วหมา (ฟันสุนัข) ตัวลายใช้กระดาษจังโกสีแดง พื้นลายใช้กระดาษขัดมันสีเหลืองสลับกับลายเส้นแข่วหมา (ฟันสุนัข) ได้อย่างลงตัว
ขบวนแห่บั้งไฟลายศรีภูมิ ในอดีตบั้งไฟลายศรีภูมิ โดยช่างครุฑ ภูมิแสนโคตร และตัดลาย โดย นายนิวัฒน์ แปลกสินธ์ เขตเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิบั้งไฟลายศรีภูมิ ชาวอำเภอสุวรรณภูมิ โดยช่างตัดลาย นายจรัล วลัยศรี สท.เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ